เมื่อวันที่ 25 ม.ค. นางสาวอรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การเตรียมปรับขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่ 104 บาท ในวันที่ 16 ก.พ.นี้ ถือเป็นค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่สูงสุดเมื่อเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำในกลุ่มประเทศเอเชียที่พัฒนาแล้ว โดยก่อนที่จะปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าเป็นอัตราใหม่ พบว่า ค่าโดยสารรถไฟฟ้าในกรุงเทพสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำต่อชั่วโมงหลายเท่า โดยคนกรุงเทพฯ ได้ค่าแรงขั้นต่ำวันละกว่า 300 บาท หากคิดเป็นรายชั่วโมง จะอยู่ที่ 37.50 บาท ต้องจ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 16-70 บาท ขณะที่สิงคโปร์ มีค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 250 บาทต่อชั่วโมง แต่ค่าโดยสารรถไฟฟ้าแทบไม่ต่างจากไทย อยู่ที่ 17-60 บาท ส่วนเกาหลีใต้ ค่าเเรงอยู่ที่ 221 บาทต่อชั่วโมง ค่าโดยสารรถไฟฟ้าอยู่ที่ 37-96 บาท
โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในสมัยพรรคไทยรักไทย จนถึงพรรคเพื่อไทย ได้เสนอโครงการเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคมของกรุงเทพฯด้วยรถไฟฟ้า ได้วางแผนและกำหนดอัตราค่าโดยสารที่ 15 บาท และ 20 บาทตลอดสาย บนพื้นฐานการคิดค่าเฉลี่ย โดยนำกำไรในเส้นทางที่มีผู้ใช้บริการหนาแน่นมาชดเชยส่วนต่างในเส้นทางที่ขาดทุน ส่วนการลงทุนรัฐบาลร่วมลงทุนและอุดหนุนส่วนต่างราคา เพื่อให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้บริการสาธารณะอย่างรถไฟฟ้าที่รวดเร็วและลดมลพิษ ซึ่งถือเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน แต่นายกรัฐมนตรีที่ชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ มีหลักคิดที่ตรงข้าม กลับมุ่งเน้นการให้สัมปทานเอกชนโดยเปิดประมูล เอื้อสัญญาให้บางบริษัทจนประชาชนผู้เสียภาษีตั้งคำถามว่าเอื้อกลุ่มทุนในหลายกรณีหรือไม่ เพราะรัฐไม่ได้มองว่าเป็นหน้าที่ที่รัฐต้องพัฒนาให้กรุงเทพฯเป็นเมืองแห่งอนาคต แต่มองกรุงเทพฯเป็นเค้กพร้อมแบ่งสรรปันส่วนกันหรือไม่ ทั้งหมดเป็นการซ้ำเติมทุกข์ให้กับคนไทยที่กำลังหมดหนทางต่อสู้กับชีวิตภายใต้ผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ทั้งสองระลอก
“ปีนี้ถือเป็นปีแห่งการแสดงศักยภาพความเป็นผู้นำของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่ทำให้ไทยกลายเป็นผู้ตาม ประเทศที่เคยเติบโตต่ำกว่าเรา ตอนนี้ทิ้งห่างไปไกลไม่เห็นฝุ่น ในขณะที่ผู้นำไทยยังได้แต่สงสัยว่าทำไมเวียดนามโตกว่าไทย ส่วนคนไทยสงสัยมากกว่าว่าทำไม พล.อ.ประยุทธ์ยังเป็นนายกฯอยู่” นางสาวอรุณี กล่าว
—————–
แสดงความเห็น
– ค่าโดยสารรถไฟฟัา BTS รวมค่าใช้จ่ายตลอดสายไม่เกิน 104 บาท ตั้งแต่สถานีคูคต-เคหะสมุทรปราการ รวม 59 สถานี รวมระยะทางกว่า 68 กิโลเมตร (กม.) โดยแบ่งเป็น 4 ช่วง
1.ช่วงสัมปทานของ BTS สถานีหมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาฯ-สะพานตากสิน ค่าโดยสาร 16-44 บาท
2.ส่วนต่อขยายหมอชิต-คูคต ค่าโดยสาร 15-45 บาท ปรับเพิ่มขึ้นสถานีละ 3 บาท
3.ส่วนต่อขยายอ่อนนุช-เคหะสมุทรปราการ 15-45 บาท ปรับเพิ่มขึ้นสถานีละ 3 บาท
4. ส่วนต่อขยายสะพานตากสิน-บางหว้า 15-33 บาท ปรับเพิ่มขึ้นสถานีละ 3 บาท
– แล้วทำไมคุณกับแนวร่วมถึงได้ไร้น้ำยาไร้ประสิทธิ์ไร้คุณภาพไร้ความสามารถ ถึงได้ปล่อยให้ผมอยู่รอดปลอดภัยมีโอกาสได้ทำผลงานสร้างภาพอยู่มาถึงเจ็ดปีได้ยังไง
ผมอุตส่าใช้สมองแค่84000แปดหมื่นสี่พันเซลล์เองนะ ผมก็ไม่เก่งอาไรเลย ผมโง่หรือว่าคุณมันกระจอกง่อกง่อยมะลิงกิงกองต้อกต๋อยกะด่อยกะด่อย อุตส่าห์โง่ให้แล้วก็ยังแพ้อีก หาเรื่องเปิดประเด็นอภิปราย7วันคืนยังทำไรผมมิได้
นี่ถ้าผมใช้สมองเพิ่มอีกสักสี่สิบสี่เซลล์
พวกคุณคงต้องย้ายไปสร้างประเทศใหม่ที่ดาวดวงอื่นเลยมั้ง ประเทศไทยต้องชนะ
หมอชนะ เราชนะ ส่วนฝ่ายค้านแนวร่วมวินาทีนี้คือมึง
ไอ้ขี้แพ้ มึงแพ้ ม็อบแพ้
อีกแล้วนะจร้ะ คนขี้แพ้ก็ต้องดูแลตัวเองนะจร้ะ ขอให้มีความสุข
– ป้า รู้จักสัมปทานป่ะ เค้าให้เอกชนประมูลแล้วแจ้งอัตราค่าโดยสารแข่งกัน ไม่ใช่รัฐบาลสร้างแล้วเก็บค่าโดยสารนะ ป้าอย่าบอกนะว่าเป็นส.ส.แล้วก็อย่าบอกนะว่ามาจากพรรคไหน อายแทน ปัญหาคือการตกลงในเงื่อนไขสัญญาของกทม.BTS+น้องชายเนวิน
– เทียบกับเพื่อไทยในอดีตที่มีนายกหลายคนมัดรวมกัน ยังไม่ได้เสี้ยวลุงตู่เลย ไม่มีจำนำข้าวที่ติดหนี้หลายแสนล้าน ไม่โกงเข้าธุรกิจครอบครัวจนร่ำรวยมหาศาล แต่คนไทยจนเหมือนเดิมมาหลายสิบปี
– ถ้าใช้เวลาครึ่งชั่วโมงเดินทางข้ามสามจังหวัด ใช้เงิน 104 บาทแล้วบ่นว่าแพง ก็ไปรถเมล์ที่ต้องขึ้นสามต่อใช้เวลาครึ่งวันเอาแล้วกัน ชีวิตมีทางเลือก เขาไม่ได้บังคับให้ขึ้นรถไฟฟ้านะครับ
– จริงๆค่าโดยสารมันก็แพงถ้าบอกว่าราคาร้อยกว่าบาท แต่ถ้ามองว่าข้ามเมือง คร่อมสองสามจังหวัดมันก็นะ อีกอย่างใช่ว่าเราเดินทางได้แบบเดียว เราเงินน้อยตื่นเช้าหน่อยไปรถเมล์สิ หรือนั่งรถไฟธรรมดา ต่อ เรือ ต่อรถเอา ตามสภาพเศรษฐานะเรา เดี๋ยวไม่มีคนใช้เค้าก้อลดราคามาดึงคนเอง เอาสบายมันกะต้องแลกกะราคาแพงนะ ที่พูดไม่ใช่เห็นด้วยกับราคาแพงนะ แต่อยากบอกว่าทางเลือกคนรายได้น้อยก็ยังมี
– การเดินทางในกทม.มีทางเลือกมากมาย การสร้างรถฟฟ.ใช้ทุนของรัฐและเอกชน ราคาน่าจะเหมาะสมแล้ว หากต้องการเดินทางแบบประหยัดสามารถเดินทางโดยรถเมล์ได้ การตำหนิแบบนี้ไม่สร้างสรรค์และมีเหตุผลไม่พอ